วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ขอแสดงความยินดี

ขอแสดงความยินดีกับป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น 10 ทุกท่าน

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันมาฆบูชา



ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

มงคลที่ ๘.การรอบรู้ในศิลปะ

๏ ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ

ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี

มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี

ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ.

"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป


คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
๑. ทำบุญใส่บาตร
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตำรับ...ขนมไทย


ตะโก้แห้ว
ส่วนผสม
แห้วต้มหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก 1 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำดอกไม้ 2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ใส่น้ำลอยดอกไม้ในแป้งข้าวเจ้าทีละน้อยนวดจนแป้งนุ่ม แล้วใส่น้ำลอยดอกไม้ลงไป ให้แป้งละลายหมด จนเข้ากันดี
2. ใส่แป้งที่ละลายไว้ลงในกระทะทอง ใส่น้ำตาลทราย ตั้งไฟกวนจน แป้งสุกข้น
3. ใส่แห้วทีหั่นไว้ลงกวนให้เข้ากัน
4. ทำหน้าขนมดดยละลายแป้งข้าวเจ้ากับหัวกะทิใส่น้ำตาลทรายลงคนให้เข้ากันกวนด้วยไฟอ่อน พอแป้งสุกยกลง
5. ตักตัวขนมใส่กระทงหรือถาดแล้วหยอดหน้าขนมลงไปขณะที่หน้าขนมยังร้อนอย่ปล่อยพักไว้ให้เย็น แล้วจัดใส่ภาชนะ

ข้าวเหนียวแก้ว


ข้าวเหนียวแก้ว
ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
น้ำใบเตย 1/2 ถ้วยตวง
น้ำปูนใส 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ซาวข้าวเหนียวให้สะอาดวางลงบนรังถึงที่ปูด้วยผ้าขาวบาง ตั้งบนน้ำเดือด นึ่งจนข้าวเหนียวสุก
2. ใส่น้ำใบเตยผสมกับหัวกะทิคนให้เข้ากับน้ำปูนใส แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางใส่เกลือป่นคนให้เกลือละลาย ใส่ชามอ่างใบใหญ่ๆ
3. เมื่อข้าวเหนียวสุกดีตักข้าวใส่ชามกะทิเคล้าเร็วๆ ให้ข้าวเหนียวคลุกกับกะทิให้ทั่วปิดปากชามไว้ประมาณ 10-20 นาที ให้ข้าวเหนียวอมน้ำไว้จนกะทิแห้ง
4. ใส่น้ำตาลลงในข้าวเคล้าเบาๆ ให้ทั่วกัน แล้วเทใส่กระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ คลุกจนน้ำตาลละลายจับเม็ดทั่วยกลงจากเตา จัดใส่ภาชนะให้สวยงาม

ขนมทราย


ขนมทราย
ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
น้ำดอกไม้ 2 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 1/2
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นๆ
วิธีทำ
1. วดแป้งกับน้ำดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง ใช้ผ้าขาวบางบิดหมาดคลุมไว้
2. มน้ำตาลทราย กับน้ำดอกไม้ให้เดือด กรองให้สะอาด พักไว้ให้เย็น
3. ยีแป้งที่นวดไว้บนกระชอนลวด แล้วยีซ้ำอีกครั้ง ให้แป้งลงในรังถึงที่ปูด้วยผ้าขาว บางไว้แล้ว
4. นำแป้งที่ยีได้นึ่งในน้ำเดือดประมาณ 45 นาที จนแป้งสุกคอยระวังอย่าให้น้ำแห้งพอแป้งสุก เทใส่ชามผสมน้ำพักไว้ให้เย็น
5. เทน้ำเชื่อมที่เย็นแล้วลงในชามแป้งคนเร็วๆ ให้ทั่ว พักไว้ประมาณ 10 นาที ใช้ซ้อมยีให้แป้

6. กระจาย เนื้อละเอียดฟูดี จึงอบด้วยดอกมะลิหรือเทียนอบไว้ 1 คืน
เสริฟกับมะพร้าวทึนทึกขูดฝอยเป็นเส้นๆ

กระเช้าสีดา


กระเช้าสีดา
ส่วนผสม
แป้งสาลี 1 ถ้วยตวง
ไข่แดง 2 ฟอง
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
น้าเปล่า 3 ช้อนโต๊ะ
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
น้ำดอกไม้ 1 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. นวดแป้งสาลีกับน้ำมันพืชให้เข้ากันใส่ไข่แดงลงนวดทีละฟองนวดจนแห้งเนียนนิ่มใช้ผ้าขาวบาง ชุบน้ำบิดหมาดๆคลุมพักไว้ประมาณ 10-15 นาที
2. แบ่งแป้งที่ละน้อยกดลงพิมพ์กระเช้าใส่ถาดนำเข้าอบไฟกลางจนแป้งสุกยกลงพักไวให้เย็น
3. ผสมน้ำทรายน้ำลอยดอกไม้ ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวจนตาลทรายละลายเหนียวจนเป็ยยางมะตูมใส่มะพร้าวลงคลุกกับน้ำเชื่อมให้ทั่ว กันจนน้ำเชื่อมแห้ง
4. ตักมะพร้าวใส่ลงในกระเช้าจัดให้สวยงามแล้ววางผึ่งลมให้แห้งแล้วจึงจัดใส่ภาชนะ

ขนมนำดอกไม้

ขนมน้ำดอกไม้

ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้า 1 1/4 ถ้วยตวง
แป้งเท้ายายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล 1 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
1. ผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งท้าวฯ เข้าด้วยกันใส่น้ำลอยดอกมะลิทีละน้อยนวดจนแป้งเข้ากันดี
2. ผสมน้ำกับน้ำตาลตั้งไฟเคี่ยวน้ำเชื่อม แล้วใส่ลงในแป้งนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
3. เรียงถ้วยตะไลในรังถึง นึ่งด้วยไฟแรงจนน้ำเดือดร้อนจัดจึงตักแป้งหยอดลงในถ้วยตะไลให้เต็มถ้วย ปิดฝานึ่ง ต่ออีกประมาณ 10 นาที เมื่อขนมสุกดียกลงพักไว้ให้เย็นแคะขนมออกจากถ้วย

ขนมชั้น

ขนมชั้น


ส่วนผสม
แป้งท้าวยายม่อม 1/1 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วยตวง
แป้งมัน 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง
น้ำใบเตย 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ร่อนแป้งทั้งสามชนิด เข้าด้วยกัน
2. นวดแป้งกับหัวกะทิทีละน้อย นวดจนแป้งนุ่มเหนียว พักไว้
3. ผสมน้ำลอยดอกไม้ น้ำตาลทรายเข้าด้วยกันตั้งไฟให้เดือดยกลงพักไว้
4. แบ่งส่วนผสมของแป้งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใส่น้ำใบเตยนวดให้เข้ากัน อีกส่วนหนึ่งไม่ต้องใส่ให้เป็นแป้งสีขาว
5. นึ่งพิมพ์ขนมให้ร้อน ตักขนมหยอดทีละชั้น นึ่งให้สุกแล้วจึงหยอดชั้นต่อไปหยอดสลับสีกันจนหมด
6. เมื่อนึ่งขนมชั้นบนสุดสุกดีแล้ว ยกลงปล่อยไว้ให้เย็น แล้วตัดตามต้องการ

ขนมโสมนัส

ขนมโสมนัส


ส่วนผสม
ไข่ไก่ 2 ฟอง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทรายละเอียด 1 ถ้วยตวง
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ใส่มะพร้าวที่ ขูดไว้ลงในถาด เกลี่ยให้บางเสมอกัน นำไปอบที่อุณหภูมิ 200 องศา จนมะพร้าวแห้งกรอบ
2. นำออกจากถาดปล่อยพักไว้ให้เย็น
3. ตีไข่ขาวให้ขึ้นจนไข่ตั้งยอด แล้วใส่น้ำตาลทีละน้อย เมื่อน้ำตาลหมดใส่เกลือตีต่อไปจนไข่ตั้งยอดอีกครั้ง
4. เทมะพร้าวที่อบแห้งแล้วลงในไข่เคล้าเบาๆให้เข้ากัน
5. ตักขนมที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วเป็นก้อนกลม วางลงบนถาดที่ทาน้ำมันไว้บางๆ นำเข้าอบที่อุณหภูม 250 องศา จนขนมแห้งกรอบดี แซะออกจากถาดผึ่งไว้ให้เย็น

ขนมสำปันนี

ขนมสำปันนี


ส่วนผสม
แป้งสาลี 1/2 ถ้วยตวง
แป้งมันคั่วสุก 1/4 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
ผสมหัวกะทิกับน้ำตาลทราย ใส่ลงในกระทะทองตั้งไฟอ่อนเคี่ยวให้น้ำตาลละลายเข้ากับกะทิ แล้วยกลง
ใส่แป้งสาลีลงในกะทิเคี่ยวตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แป้งสุกและกะทิแห้งขนมจับตัวเป็นก้อนล่อนออกจากกระทะ ยกลงจากเตา ใช้พายคนให้คลายร้อน
ตักขนมอัดลงในพิมพ์ที่โรยด้วยแป้งมันไว้ก่อนแล้ว จึงเคาะขนมจากพิมพ์ใส่ถาด

ขนมอาลัว


ขนมอาลัว
ส่วนผสม
แป้งสาลี 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
น้ำใบเตย 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ร่อนแป้งสาลี 2 ครั้ง
2. ใส่น้ำตาลทรายลงผสมกับแป้งสาลีที่ร่อนไว้เคล้าให้เข้ากัน
3. ใส่หัวกะทิทีละน้อยนวดให้น้ำตาลละลาย จนหัวกะทิหมด คนให้เข้ากันใส่น้ำใบเตย
4. ใช้ผ้าขาวบางกรองส่วนผสมใส่ในกระทะทอง ตั้งไฟกลางกวนเร็วๆ ให้แป้งสุก
5. เมื่อแป้งสุกแล้วพักไว้สักครู่ใส่กรวยบีบหรือหยอดตามต้องการนำอบด้วยไฟอ่อนจนผิวนอกของขนมแห้ง ยกลงจากเตารอให้เย็นแซะออกจากถาดจัดใส่ภาชนะ

ลูกชุบ


ลูกชุบ

ส่วนผสม
ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 1/3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1. แช่ถั่วเขียวประมาณ 1-2 ชั่วโมง นึ่งให้สุกนุ่ม แล้วบดให้ละเอียด
2. หัวกะทิตั้งไฟอ่อนๆ ใส่นำตาลทรายลงเคี่ยวให้นำตาลละลายหมด ใส่ถั่วลงกวนกับกะทิตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แห้งจนถั่วล่อนออกจากกระทะ
3. ทถั่วที่กวนได้ที่แล้วลงในถาดหรือชามพักไว้ให้เย็น
4. ปั้นถั่วเป็นรูปผลไม้เล็กๆ ตามต้องการ แล้วระบายสีผลไม้ที่ปั้นไว้ให้เหมือนจริงพักไว้ให้สีแห้ง 5. ผสมผงวุ้นกับน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลายหมดยกลง วางพักไว้สักครู่
6. นำผลไม้ที่ระบายสีไว้ ชุบวุ้นให้ทั่ว พักไว้ให้แห้งแล้วชุบอีก 2 ครั้ง ปล่อยให้แห้งจึงนำไปตกแต่งให้สวยงาม



เสน่ห์อาหารไทย 4 ภาค


อาหารไทยเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน แต่แม้จะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นจากส่วนผสมจากสมุนไพรแต่อาหารในแต่ละภูมิภาคก็มีความแตกต่างกัน
อาหารไทยภาคกลาง
ภาคกลางเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชผักผลไม้นานาชนิด อาหารของภาคกลางมีที่มาทั้งจากอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันจากประเทศจีน เป็นอาหารมีการประดิษฐ์ผู้อยู่ในรั้วในวังได้คิดสร้างสรรค์อาหารให้มีความวิจิตรบรรจง อาหารภาคกลางมักจะมีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิแนมด้วยปลาเค็ม กุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง กินกับสะเดาน้ำปลาหวาน
รสชาติของอาหารไม่เน้นรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ จะมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร นิยมใช้เครื่องเทศแต่งกลิ่นรส และใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร
ยังมี "อาหารชาววัง" ที่มีต้นกำเนิดจากอาหารในราชสำนัก ที่เน้นตกแต่งประณีตและปรุงให้ได้ครบรส ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด นิยมประดิษฐ์อาหารให้สวยงามเลียนแบบรูปทรงต่างๆ ในธรรมชาติ

อาหารภาคตะวันออก


ส่วนภาคตะวันออก
มีดินแดนติดทะเล คนแถบนี้นิยมบริโภคอาหารทะเล และกินผักพื้นบ้าน มีเครื่องเทศสมุนไพรเฉพาะถิ่น และมีผลไม้หลากหลาย การปรุงอาหารคาวบางอย่างจึงนิยมใส่ผลไม้ลงไปด้วย อีกทั้งผสมผสานการปรุงจากชาวจีน อาหารของภาคนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร

อาหารไทยภาคใต้


อาหารหลักของคนภาคใต้คือ อาหารทะเล และกลิ่นคาวโดยธรรมชาติของปลา หรืออาหารทะเลอื่นๆ ทำให้อาหารของภาคใต้ต้องใช้เครื่องเทศโดยเฉพาะ เช่น ขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาว อาหารภาคใต้จึงมักมีสีออกเหลือง เช่น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ซึ่งมีขมิ้นเป็นส่วนผสมทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง อาหารส่วนใหญ่มีรสชาติเผ็ดจัด และนิยมใส่เครื่องเทศมาก
อาหารส่วนใหญ่เป็นพวก กุ้ง หอย ปู ปลา จะเน้นเครื่องเทศเป็นสำคัญ อาหารภาคใต้จะไม่เน้นรสหวานจะเป็นรสจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และเน้นใส่ขมิ้นในอาหารทุกชนิด เครื่องปรุงของเขาเน้นกะปิ ส่วนที่ปรุงรสเปรี้ยวจะไม่ค่อยใช้มะนาว จะใช้เครื่องเทศของเขา

อาหารไทยภาคอีสาน


อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่ายๆ 2-3 จาน มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่มีรสชาติออกไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก "ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ รสชาติอาหารจะเข้มข้นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
รสชาติทางอีสานออกไปทางรสค่อนข้างจัด วัตถุดิบก็จะต่างกันมีการเอาข้าวไปคั่วให้หอมมาผสมเป็นน้ำตกหรือทำลาบ
เขาจะใช้ปลาร้าเข้ามามีส่วนร่วมในการปรุงอาหาร ปลาร้ามีรสเค็มและมีกลิ่นหอมเฉพาะ บางทีคนอีสานทำอาหารแต่ขาดปลาร้า อาหารก็จะไม่ใช่ลักษณะของเขา อย่างส้มตำก็ต้องเป็นส้มตำปลาร้า ภาคอีสานบางทีก็คล้ายๆ กับภาคเหนือ สมมติถ้าเขามีปลาก็จะต้มใส่ใบมะขามใส่ตะไคร้
ชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก และมีน้ำปลาร้าปรุงในอาหารแทบทุกชนิด มีศัพท์การปรุงหลายรูปแบบ เช่น ลาบ ก้อย หมก อ่อม แจ่ว จุ๊ ต้มส้ม ซุป เป็นต้น

อาหารไทยภาคเหนือ


อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ มีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมใช้พืชตามป่าเขาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ได้จากท้องทุ่งและลำน้ำ อาทิเช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย ไก่ หมู และเนื้อ คนเหนือไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะใช้ความหวานจากส่วนผสมที่ใช้ทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก ปลา หรือมะเขือส้ม
กรรมวิธีการปรุงอาหาร มักจะปรุงให้สุกมากๆ อาหารประเภทผัด หรือต้ม จะปรุงจนกระทั่งผักมีความนุ่ม และมีเครื่องปรุงรสเฉพาะของภูมิภาค เช่น น้ำปู๋ ซึ่งได้จากการเอาปูนาตัวเล็กๆ เอามาโขลก แล้วนำไปเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี่ยวต่อจนข้น ถั่วเน่าแผ่น ถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ ผักและเครื่องเทศที่ใช้เป็นผักเฉพาะถิ่น
ภาคเหนือมีเครื่องเทศของเขา ส่วนใหญ่จะไม่ใช้กะปิเขาจะใช้เป็นถั่วเน่าแทน…จะมีอาหารเฉพาะหลายอย่าง เช่น ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู เป็นลักษณะเด่นของอาหารทางภาคเหนือ แต่เขาก็ยังจะมีพวกปิ้งย่างอย่างพวกหมูเขาก็จะหมักแล้วห่อใบตองปิ้งย่าง

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

สวนสวย

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี

สาธิตการทอผ้าด้วยกี่กระตุก

การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ
เป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั่งเดิม โดยการนำใยฟ้ายหรือใยไหม มาสาวปั่นเป็นเส้นใยแล้วมัดย้อมให้ได้สีีตามต้องการ แล้วจึงนำมาขัดทอเป็นลวดลาย เพื่อใช้ในการส่วมใส่ แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงมีการใช้เครื่องทอผ้าแทนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกจึงน้อยลงไปคุณป้า สุนันทา บัวจีน เป็นผู้หนึ่งที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้ให้กับเยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป จึงได้นำลูกหลานและเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาฝึกทอผ้าเพื่อสิบทอดภูมิปัญญานี้ไว้
หากท่านใดสนใจ
สามารถติดต่อได้ที่ นางสาวสุนันทา บัวจีน บ้านเลขที่ 106 หมุ่ที่ 7 ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 เบอร์โทรศัพย ์089-9108147

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ




จุดเด่นของภูมิปัญญาลดต้นทุนการผลิต ปลอดภัยจากสารพิษ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ปรับปรุงบำรุงดิน
วัสดุการผลิต
หอยเชอรี่ 30 กก.
ขี้ปลา 30 กก.
มะม่วงสุกหล่น 30 กก.
กากน้ำตาล 30 กก.
น้ำสะอาด 30 ลิตร
สารเร่ง พ.ด.2 จำนวน 1 ซอง
วิธีการใช้
ฉีดผ่ีนทางใบ ใช้น้ำหมัก 10 -20 cc./น้ำ 20 ลิตร
ราดโคนต้นไม้ ใช้น้ำหมัก 1 ลิตร/น้ำ 10 ลิตร
หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่นายกมล กลิ่นขจร บ้านเลขที่ 20 หมู่ีที่ 5ตำบลท่าชุมพล อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 หรือศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าชุมพล

สุราแช่พื้นเมือง ตำบลเตาปูน



สุราแช่พื้นเมือง
จุดเด่นของภูมิปัญญาเป็นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (ข้าวเหนียว) จะมีรสชาดหอมหวาน
น่ารัปประทานส่วนประกอบข้าวเหนียว แป้งลูกหมาก
วิธีการทำ
นำข้าวเหนียวไปนึ่งให้สุก นำมาล้างน้ำทำความสะอาด เสร็จแล้วนำมาคลุกกับแป้งลูกหมาก หมักทิ่งไว้นาน 15 วัน เสร็จแล้วจะได้น้ำ้ที่ได้จากกการหมัก นำมากรองทำความสะอาดบรรจุขวด
หากท่านใดสนใจภูมิปัญญานี้ สามารถติกต่อได้ที่นายพล สุขจัด บ้านเลขที่ 19/1 หมู่ที่ 7 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 เบอร์โทร. 086-1659020


หมวกครอบหน่อไม้ฝรั่ง


จุดเด่นของภูมิปัญญา เป็นการรักษาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ให้อยู่ในเกรดที่บริษััทต้องการ รายละเอียดของภูมิปัญญา ใช้พลาสติกใสที่มีความหนาอพอสมควร นำมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 8x8 เซนติเมตร นำมาม้วนเป็นรูปกรวย ปากของกรวยให้มีความกว้างขนาด 2 เซนติเมตรวิธีการใช้ นำหมวกพลาสติกที่ได้ไปครอบหน่อไม้ฝรั่งที่เริ่มโพล่จากพื้นดิน ป้องกันหน่อไม้ฝรั่งบาน ทำให้ขายได้ราคาตามเกรดของบริษัท หากเกษตรท่านใดสนใจภูมิปัญญานี้สามารถติดต่อได้ที่นางสาวกิ่มยิ้น ภู่ฉุน บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 4 ตำบลสร้อยฟ้าอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
วิธีการครอบหมวกหน่อไม้ฝรั้ง